วิสัยทัศน์
"เป็นแหล่งส่งเสริมการผลิตภาคปศุสัตว์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สร้างฐานองค์ความรู้ มุ่งสู่ความมั่นคงและมั่งคั่ง เพื่อสังคมอยู่ดีมีสุข"พันธกิจ
1. ควบคุม ป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคสัตว์ และโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน
2. ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ การแปรรูป อาหาร เนื้อ นม ไข่ ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพปศุสัตว์ที่มีศักยภาพต่อพื้นที่ และสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรฯ
อำนาจหน้าที่
กรมปศุสัตว์ มีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและนโยบาย การควบคุม การกำกับ การส่งเสริม การวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปศุสัตว์ รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์ เพื่อให้มีปริมาณสัตว์เพียงพอ และมีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย ปราศจากโรค สารตกค้าง และสารปนเปื้อน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์
- ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ พันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ ชีวภัณฑ์และชีววัตถุสำหรับสัตว์ ยาสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์ระบบการผลิตปศุสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านการปศุสัตว์เพื่อให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย
- ผลิตและขยายพันธุ์สัตว์ น้ำเชื้อ เชื้อพันธุ์ พืชอาหารสัตว์ และเสบียงสัตว์ เพื่อการพัฒนาด้านการปศุสัตว์ และผลิตและจัดหาชีวภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และชีววัตถุสำหรับสัตว์ เพื่อการควบคุมโรคระบาดสัตว์
- ควบคุม ป้องกัน กำจัด บำบัด วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ กำกับดูแลสถานพยาบาลสัตว์ และพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพสัตว์
- ส่งเสริม พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ และบริหารจัดการ การประสานความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์ และป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปศุสัตว์
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ค่านิยมหลักขององค์กร
“ สามัคคี มีเมตตา รักษาความดี ”
- สามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความปรองดองกัน การร่วมมือร่วมใจ ทำงานเป็นทีม ให้ความช่วยเหลือ พร้อมให้กำลังใจ ซึ่งกันและกัน ร่วมแก้ไขปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ และเกิดประโยชน์ แก่เกษตรกรร่วมกัน
- มีเมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดู ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข การมีจิตใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน เกษตรกร และสัตว์ต่างๆ
- รักษาความดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และความต้องการของตนเอง มีความซื่อสัตย์ รู้จักเห็นใจผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีจิตใจที่สะอาด สว่าง สงบ และมีสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ